ภูมิแพ้ เป็นสาเหตุใหญ่ของการเจ็บป่วยในประเทศอเมริกา ประมาณ 50 ล้านคน หรือ 1 ใน 5 ของประชากรมีภาวะภูมิแพ้ การตอบสนองของระบบภูมิต้านทานร่างกาย ที่มากเกินไป ต่อสิ่งที่มากระทบ โดยร่างกายมองว่าเป็นสิ่งคุกคามและส่งสารชีวเคมีเพื่อต่อต้าน

การแพ้อาหาร

ประชากรเด็ก 4-6% และ ผู้ใหญ่ 4 % มีภาวะแพ้อาหาร การแพ้อาหาร แม้จะพบบ่อยในเด็ก หรือทารก แต่อาจเกิดได้ทุกช่วงอายุ และอาจเกิดกับอาหารที่รับประทานเป็นประจำก็ได้ อาการอาจพบได้ตั้งแต่เล็กน้อย หรือรุนแรง แม้ว่าอาหารเริ่มแรกจะไม่รุนแรง แต่อาการระยะต่อ ๆ มาอาจรุนแรงมากขึ้นได้

อาการแพ้แบบเฉียบพลัน  เกิดได้กับระบบผิวหนัง ทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด และทางเดินหายใจ เช่น

  • คลื่นไส้อาเจียน, ผื่นแพ้ ลมพิษ, หายใจติดขัด หลอดลมตีบ ไอแน่นหน้าอก, ลิ้นบวม, ชีพจรเบา หน้าซีด เป็นลม หมดสติ Anaphylaxis หรืออาการแพ้แบบเฉียบพลัน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หากเกิดขึ้นกับทางเดินหายใจอาการแพ้แบบไม่เฉียบพลัน (delayed reaction) มักเกิดขึ้น 2-6 ชั่วโมง หรือนานกว่านั้นหลังทานอาหาร

อาการแพ้แบบไม่เฉียบพลัน เนื่องจากโปรตีนในอาหารทำให้เกิดลำไส้อักเสบ ( food protein-induced enterocolitis syndrome : FPIES ) คือ อาการของทางเดินอาหารที่รุนแรงมักเกิด 2-6 ชั่วโมง หลังทาน นม, ถั่วเหลือง, ธัญพืชหรืออาหารบางชนิด

การวินิจฉัยทางห้องปฎิบัติการ

ตรวจทางผิวหนัง Skin-prick test

ตรวจเลือด เพื่อทดสอบ ภูมิต้านทาน Ig E หาได้ทั้ง total Ig E  คือระดับ Ig E รวมทั้งหมด และหา specific Ig E ที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด ข้อดีของการหา specific Ig E ไม่เสี่ยงต่อปฎิกริยารุนแรง, ไม่ต้องงดยา, ไม่ใช้เวลานานในการทดสอบ

การทดสอบการแพ้อาหารแบบ IgG

เป็นการทดสอบภูมิต้านทานชนิดไม่เฉียบพลัน  ( Immunoglobulin G ) ช่วยเสริม ในการวินิจฉัย การแพ้อาหารนอกเหนือจากการแพ้แบบเฉียบพลัน และช่วยให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้

 

การแพ้สัตว์เลี้ยง

  • อาการ เช่น คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล ไอ แน่นหน้าอก หอบหืด คันตา ผื่นผิวหนัง ลมพิษ (อาการแพ้แบบเฉียบพลัน)
  • แพ้แมว มักเกิดจากโปรตีนในขนแมว ผิวหนัง น้ำลาย, หรืออาจเกิดจากฝุ่นและเกสร ที่ติดมากับแมว
  • ไม่พบว่าแมวพันธุ์ใดเป็น hypoallergenic (ก่อการแพ้น้อย), ความยาวขน สายพันธุ์ เพศ หรือเวลาที่คลุกคลีกับแมว ไม่มีผลกับระดับอาการแพ้
  • การแพ้สุนัข เกิดจากโปรตีนในขนสุนัข รังแค น้ำลาย หรือฉี่ รวมถึงฝุ่นและเกสรที่ติดตัวสุนัข
  • ไม่มีสุนัขสายพันธุ์ hypoallergenic

 

การแพ้ทางผิวหนัง

  • ผิวหนังอักเสบ : พบ 10-20 % ในเด็ก และ 1-3% ใน ผู้ใหญ่

ลักษณะ ผิวหนังแห้ง แดง คัน บางครั้งมีการติดเชื้อร่วมด้วย มักพบประวัติการแพ้ในครอบครัว

  • ประมาณ 37% ของเด็กที่มีผิวหนังอักเสบระดับปานกลางถึงรุนแรง มีการแพ้อาหารร่วมด้วย
  • ในเด็กอายุ ต่ำกว่า 5 ขวบที่มีผิวหนังอักเสบระดับปานกลางถึงรุนแรง ควรทดสอบการแพ้ นม ไข่ ถั่วลิสง ข้าวสาลีและถั่วเหลือง

 

สิ่งกระตุ้น 

  • อาหาร (ถั่วลิสง ไข่ ถั่วเปลือกแข็ง อาหารทะเล)
  • ยา เช่น ยาปฎิชีวนะ กลุ่มแพนนิซิลินและซัลฟา, แอสไพริน และบรูเฟน
  • แมลงกัด หรือต่อย
  • สิ่งกระตุ้นทางกายภาพ เช่น ความเย็น ความร้อน แรงดัน แสงแดด
  • ลาเท็กซ์
  • การติดเชื้อ แบคทีเรีย เช่น ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือคออักเสบ
  • การติดเชื้อไวรัส เช่น หวัด ตับอักเสบ
  • รังแคสัตว์
  • พืช เกสร หรือพิษ
  • ผื่นจากการสัมผัส คือ ผื่นแดง คัน แสบร้อน หรือบวม บริเวณผิวหนัง เมื่อสัมผัสกับสิ่งที่แพ้
  • น้ำหอม สบู่
  • ยาง
  • ลูกกลิ้งดับกลิ่น
  • น้ำยาซักผ้า
  • เครื่องประดับ เช่น นิเกิ้ล หรือทอง
  • Poison ivy

 

จมูกอักเสบจากภูมิแพ้

  • เมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ จะคันจมูก อาจจามติด ๆ กันหลายครั้ง และมีน้ำมูกใส คัดจมูก
  • อาจเป็นอยู่เป็นนาที หรือชั่วโมง หายได้เอง อาจคันที่ตา คอ หู เพดานปากร่วมด้วย
  • อาการอื่นเช่น ปวดศีรษะ เสียงเปลี่ยน จมูกไม่ได้กลิ่น น้ำมูกไหลลงคอ หูอื้อ เสียงดังในหู คล้ายมีก้อนหรืออะไรติดในคอ เจ็บคอเรื้อรัง

 แบ่งเป็น 2 ชนิด

  • มีอาการบางครั้ง โดยน้อยกว่า 4 วันต่อ สัปดาห์ หรือมีอาการติดต่อกันน้อยกว่า 4 สัปดาห์
  • มีอาการตลอดเวลา โดยอาการมากกว่า 4 วันต่อ สัปดาห์ หรือติดต่อกันนานกว่า 4 สัปดาห์

นอกจากนี้ยังแบ่งตามความรุนแรงของอาการ โดยกลุ่มอาการ ปานกลางถึงรุนแรง จะมีมากกว่า 1 อาการ คือ รบกวนการนอน,รบกวนกิจวัตรประจำวัน การเล่นกีฬาหรือพักผ่อน, รบกวนการเรียนหรือทำงาน, อาการรบกวนอื่น ๆ

Share