รายงานสถิติมะเร็งจาก World Cancer Research Fund International ปี 2020 พบว่ามะเร็งต่อมไทรอยด์เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 9 ทั่วโลกโดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของมะเร็งทั้งหมดในผู้หญิง แต่ในประเทศไทยพบว่ามะเร็งไทรอยด์พบน้อยมาก (มากกว่าอันดับ 10) อีกทั้งมะเร็งไทรอยด์เป็นมะเร็งที่ถือว่ามีพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตอบสนองต่อการรักษาและหายขาดจากมะเร็ง

     Thyroid cancer เกิดจากเซลล์ผลิดฮอร์โมนไทรอยด์ (Follicular cell) และ เซลล์ผลิตฮอร์โมน Calcitonin (Parafollicular cell, C cell) ที่กลายพันธุ์และแบ่งตัวผิดปกติ โดยเซลล์ Follicular cell จะกลายพันธุ์กลายเป็นมะเร็งชนิด Papillary carcinoma ซึ่งพบได้ 80% ของผู้ป่วย และ Follicular carcinoma ที่พบได้ตามมาเป็นลำดับ 2 ส่วนเซลล์ Parafollicular cell จะกลายพันธุ์เป็นมะเร็งชนิด Medullary carcinoma ซึ่งพบได้ 5 – 10% ของผู้ป่วย และจัดเป็นมะเร็งชนิดที่ค่อนข้างรักษาได้ยากกว่าสองชนิดข้างต้น สัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ของ RET proto-onco gene ส่วนมะเร็งไทรอยด์ชนิด Anaplastic carcinoma จัดเป็นมะเร็งที่หายาก ตัวโรคกระจายไวและมีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี

     การตรวจวินิจฉัยจะอ้างอิงจากผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา (Pathology) ที่ได้จากการเจาะตรวจเซลล์ต่อมไทรอยด์ในบริเวณที่สงสัย (Fine needle aspiration, FNA) หรือจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

     ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การสัมผัสรังสี (Radiation) โดยเฉพาะการรับรังสีตั้งแต่เด็ก, ผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่ต้องใช้เครื่องมือ X-ray, CT scan หรือผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณใบหน้า, คอ จากการรักษามะเร็ง, ประวัติของโรคมะเร็งไทรอยด์ในครอบครัว โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ของยีน RET สัมพันธ์กับ Medullary carcinoma, ยีน BRAF, RAS

     ในปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำด้านการตรวจคัดกรองมะเร็งไทรอยด์ที่เป็นมาตรฐานสากลเนื่องจากเป็นโรคที่มีพบไม่บ่อย พยากรณ์โรคค่อนข้างดี โอกาสหายสูง อย่างไรก็ตามการตรวจอาจพิจารณาในกลุ่มเสี่ยงข้างต้น ด้วยการตรวจอัลตราซาวน์ต่อมไทรอยด์

     ระยะของมะเร็งไทรอยด์และวิธีการรักษานิยมอิงตาม TNM staging (Tumor size, Node involvement, Metastatic) ซึ่งประเมินขนาดมะเร็ง สถานะต่อมน้ำเหลือง สถานะการกระจาย และ NCCN (National Comprehensive Cancer Network) guideline การรักษาหลักของมะเร็งไทรอยด์คือการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทั้งการผ่าตัดบางส่วน (Lobectomy) หรือผ่าทั้งต่อมไทรอยด์ (Total thyroidectomy) บางกรณีอาจรวมไปถึงการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ (Lymph node dissection) ร่วมกับการกลืนแร่ หรือ กลืนน้ำแร่ไอโอดีนรังสี (Radioactive iodine, RAI) ส่วนการใช้ยาเคมีบำบัด,การฉายแสง และการใช้ยาพุ่งเป้า (Targeted therapy) อาจจะพิจารณาในบางกรณี

     พยากรณ์โรคของมะเร็งไทรอยด์จัดว่าเป็นมะเร็งที่มีพยากรณ์โรคที่ดี อัตราการหายและการรอดชีวิตสูงมากกว่ามะเร็งชนิดอื่น ๆ มาก

    • มะเร็งไทรอยด์ชนิด Papillary, Follicular, Medullary carcinoma มีอัตราการรอดชีวิตใน 5 ปี ราว 99 % ในระยะเริ่มต้นและมากกว่า 90 % ในระยะที่มีการแพร่กระจายบริเวณข้างเคียง
    • มะเร็งไทรอยด์ชนิด Anaplastic carcinoma มีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี แม้ในระยะเริ่มต้นก็จะมีอัตรารอดชีวิตใน 5 ปี ประมาณ 39 % (American Cancer Society 2024)

     ผลข้างเคียงจากการรักษาคือ เกิดภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์และพาราไทรอยด์ ทำให้สมดุลระบบเมตาบอลิซึมและสมดุลแคลเซียมในร่างกายผิดปกติ สามารถรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนไทรอยด์และวิตามินเสริม, การผ่าตัดต่อมไทรอยด์มีโอกาสบาดเจ็บอวัยวะบริเวณข้างเคียงเช่น เส้นประสาทควบคุมการออกเสียงและการกลืน เกิดภาวะหลอดลมอ่อนแอหลังการผ่าตัดได้, การกลืนแร่ทำให้ต่อมน้ำลายบาดเจ็บ การรับรสและกลิ่นผิดปกติ ปากแห้ง ตาแห้ง

     บทบาทของการรักษามะเร็งไทรอยด์ด้วยการแพทย์แผนบูรณาการ คือการรักษาที่ครอบคลุมทุกมิติของโรคมะเร็งด้วยการใช้วิธีผสมผสานหลายศาสตร์ทั้งการใช้โภชนบำบัด เอนไซม์บำบัด โอโซนบำบัด ภูมิคุ้มกันบำบัด เซลล์บำบัด ร่วมกันเพื่อเพิ่มโอกาสการตอบสนองต่อการรักษา ลดผลข้างเคียง ฟื้นฟูซ่อมแซมอวัยวะที่บาดเจ็บ และลดการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งด้วยการแก้ที่สาเหตุปัจจัยก่อมะเร็ง ปรับสภาวะแวดล้อมของมะเร็ง (Tumor microenvironment, TME) และเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง เช่นการล้างพิษตับ ล้างพิษลำไส้ ลดการอักเสบ ปรับสมดุลฮอร์โมนระบบเผาผลาญ เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ การใช้ยาเสริมฤทธิ์การรักษา (Repurposing medicine)

Share
Akesis Life - Integrative Oncology
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.