CYTOKINES คืออะไร

 ไซโตไคน์ (CYTOKINES) เป็นกลุ่มโปรตีนที่เซลล์หลั่งออกมาเพื่อใช้สื่อสารให้เซลล์ในระบบเดียวกันทำงานตามหน้าที่และทำงานร่วมกับเซลล์ระบบอื่น  ๆ ได้

 ไซโตไคน์ส่วนใหญ่มักหลั่งจากระบบภูมิคุ้มกันเพื่อส่งสัญญาณให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันทำงานร่วมกันในการทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม สารก่อภูมิแพ้ และควบคุมการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

CYTOKINES คืออะไร

 ไซโตไคน์ (CYTOKINES) เป็นกลุ่มโปรตีนที่เซลล์หลั่งออกมาเพื่อใช้สื่อสารให้เซลล์ในระบบเดียวกันทำงานตามหน้าที่และทำงานร่วมกับเซลล์ระบบอื่น  ๆ ได้

 ไซโตไคน์ส่วนใหญ่มักหลั่งจากระบบภูมิคุ้มกันเพื่อส่งสัญญาณให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันทำงานร่วมกันในการทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม สารก่อภูมิแพ้ และควบคุมการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

ไซโตไคน์จากระบบภูมิคุ้มกันที่หลั่งออกมานี้ยังมีฤทธิ์ต่อการทำงานของระบบอื่น ๆ ด้วย เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีไข้ เบื่ออาหาร เวลาที่ร่างกายติดเชื้อ ออกฤทธิ์ต่อระบบหัวใจหลอดเลือดทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้เซลล์อื่น ๆ เช่น เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด เซลล์ระบบประสาท เซลล์ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เซลล์ระบบประสาท ก็หลั่งไซโตไคน์ได้ด้วยเช่นกัน

เมื่อไซโตไคน์จับกับตัวรับที่จำเพาะที่อยู่บนเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย จะทำให้เกิดการกระตุ้นการส่งสัญญาณให้เซลล์ทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม

CYTOKINES สำคัญอย่างไรต่อสุขภาพ

โดยปกติเมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรค หรือ เกิดบาดแผล หรือ มีการตายของเซลล์ จะเกิดการกระตุ้นเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันให้หลั่งไซโตไคน์ที่ก่อการอักเสบ (pro-inflammatory cytokines) ออกมาก่อน เพื่อทำลายเชื้อโรค กําจัดเซลล์ที่ได้รับบาดเจ็บหรือตาย หลังจากนั้นจะมีการหลั่งไซโตไคน์ที่ช่วยต้านการอักเสบ (anti–inflammatory cytokines) ตามมา เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อให้กลับมาทํางานเป็นปกติ

ขบวนการอักเสบนี้จำเป็นต้องมีความสมดุล และพอดี เพราะถ้าเกิดการอักเสบรุนแรง มีการหลั่งไซโตไคน์ออกมามากเกินไป เช่น ภาวะ cytokine storm ที่พบในการติดเชื้อโควิด ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ 

กรณีที่มีเชื้อโรคแอบแฝงตกค้าง สารพิษโลหะหนัก สารเคมีต่าง ๆ อนุมูลอิสระ หรือ ภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญที่ผิดปกติ (Metabolic syndromes) ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง จุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล เหล่านี้เป็นต้น ร่างกายจะมีการหลั่งไซโตไคน์ที่ก่อการอักเสบออกมาเป็นระยะเวลานาน เกิดเป็นการอักเสบเรื้อรังตามมา เกิดการทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ โรคภูมิคุ้มกันแปรปรวน รวมทั้ง มะเร็ง

กรณีที่ไซโตไคน์บางชนิดน้อยเกินไปอาจส่งผลต่อการทำงานของบางระบบของร่างกายได้

การตรวจประเมินระดับและชนิดของไซโตไคน์ (Cytokine panel test)

เป็นการตวจเลือดเพื่อวัดระดับไซโตไคน์ที่ก่อการอักเสบ (pro-inflammatory cytokine) และระดับไซโตไคน์ที่ช่วยต้านการอักเสบ  (anti-inflammatory cytokine) ว่ามีระดับสมดุลดีหรือไม่ รวมทั้งไซโตไคน์ที่มีฤทธิ์ต่อต้าน หรือกระตุ้น/ส่งเสริมเซลล์มะเร็ง

ไซโตไคน์ที่สำคัญ  12 ชนิด ที่ตรวจได้จากเลือด ได้แก่

ชนิดไซโตไคน์ลักษณะสำคัญ

1.IL-1ꞵ

(Interleukin 1 beta)

  • เป็นไซโตไคน์ที่ก่อการอักเสบ (pro-inflammatory cytokine)  บ่งบอกถึงสภาวะการอักเสบของร่างกาย
  • ส่งเสริมการกระจายของเซลล์มะเร็ง

2.IL-2

(Interleukin 2)

เป็นไซโตไคน์ที่กระตุ้นการทำงานของ

  • เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดที่มีหน้าที่กำจัด เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส เซลล์มะเร็ง รวมทั้งเซลล์ที่เกิดความเสียหาย (cytotoxic T-lymphocytes)
  • เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์เพชฌฆาต (Natural killer cells)
  • เม็ดเลือดขาวชนิดเก็บกิน (Macrophages) ที่คอยเก็บกินเซลล์มะเร็ง เชื้อโรค ชิ้นส่วนของเซลล์ สิ่งแปลกปลอม และอื่นๆ และนำเสนอแอนติเจนให้กับ เซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดที ( T-lymphocytes)

ผลคือ ก่อให้เกิดการต่อต้านเซลล์มะเร็ง

ไซโตไคน์ชนิดนี้ บ่งบอกถึง ระดับภูมิคุ้มกันในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง

3.IL-4

(Interleukin 4)

เป็นไซโตไคน์ที่สำคัญในการต่อต้านการอักเสบ (anti-inflammatory cytokine)

ระดับ IL-4 ที่สูงมากเกินไปอาจกดภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านเซลล์มะเร็ง

4.IL-5

(Interleukin 5)

เป็นไซโตไคน์ที่เฉพาะเจาะจงกับโรคหอบหืด มักจะมีระดับที่สูงขึ้นในกรณีที่อาการหอบหืดกำเริบ

ไซโตไคน์ชนิดนี้กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาว eosinophil แบ่งเซลล์

เพิ่มจำนวนมากขึ้น และวิ่งไปยังบริเวณที่มีการอักเสบ

5.IL-6

(Interleukin 6)

  • เป็นไซโตไคน์ที่ก่อการอักเสบ (pro-inflammatory cytokine) ทำให้ระดับ C-reactive protein เพิ่มสูงขึ้น
  • ระดับ IL6 ที่สูงมากเกินไป บ่งบอกถึง การอักเสบที่รุนแรงของร่างกาย และอาจกระตุ้นให้เกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นภาวะวิกฤตฉุกเฉินได้
  • เป็นไซโตไคน์ที่กระตุ้นการโตของมะเร็งและการสร้างหลอดเลือดในก้อนมะเร็ง

6.IL-8

(Interleukin 8)

  • เป็นไซโตไคน์ที่สำคัญที่ก่อการอักเสบ (pro-inflammatory cytokine) มักมีระดับสูงขึ้นภายใน 1-3 ชั่วโมงหลังการติดเชื้อ
  • บ่งบอกถึงการอักเสบในระยะแรกเริ่ม
  • ระดับ IL8 ที่สูงมากเกินไป บ่งบอกถึง การอักเสบที่รุนแรงของร่างกาย และอาจกระตุ้นให้เกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นภาวะวิกฤตฉุกเฉินได้
  • เป็นไซโตไคน์ที่กระตุ้นการโตของมะเร็งและการสร้างหลอดเลือดในก้อนมะเร็ง

7.IL-10

(Interleukin 10)

  • เป็นไซโตไคน์ต่อต้านการอักเสบ (anti-inflammatory cytokine) ที่สำคัญ
  • ระดับ IL10 ที่สูงขึ้นปานกลางช่วยลดการอักเสบ
  • ระดับ IL10 ที่สูงมากเกินไปอาจกดภูมิคุ้มกันมากเกิน และยับยั้ง และยับยั้งการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านเซลล์มะเร็ง

8.IL-12p70

(Interleukin-12p 70)

  • เป็นไซโตไคน์ชนิดที่กระตุ้นเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์เพชฌฆาต (Natural killer cells) ได้มากที่สุด ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านเซลล์มะเร็ง
  • เป็นไซโตไคน์ที่สำคัญที่ก่อการอักเสบ (pro-inflammatory cytokine)
  • ระดับ IL-12p70 ที่สูงมากเกินไป บ่งบอกถึง การอักเสบที่รุนแรงของร่างกาย และอาจกระตุ้นให้เกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นภาวะวิกฤตฉุกเฉินได้

9.IL-17

(Interleukin-17)

  • เป็นไซโตไคน์ที่ก่อการอักเสบ (pro-inflammatory cytokine) ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับ โรคแพ้ภูมิตนเอง (autoimmune disease)
  • มักมีระดับสูงขึ้นใน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด (Ankylosing Spondylitis) เป็นต้น

10.TNF-𝛼

(Tumor Necrotic Factor alpha)

  • เป็นไซโตไคน์ที่ก่อการอักเสบ (pro-inflammatory cytokine)ที่สำคัญ ที่ถูกกระตุ้นจาก การติดเชื้อ การอักเสบของเนื้อเยื่อต่าง ๆ เป็นต้น
  • ระดับTNF-𝛼 ที่สูงมากเกินไป บ่งบอกถึง การอักเสบที่รุนแรงของร่างกาย และอาจกระตุ้นให้เกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นภาวะวิกฤตฉุกเฉินได้

11.IFN-𝜸

(Interferon gamma)

  • เป็นไซโตไคน์ที่ก่อการอักเสบ  (pro-inflammatory cytokine) ที่ กระตุ้นการทำงานของ เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดที่มีหน้าที่กำจัด เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส เซลล์มะเร็ง (cytotoxic T-lymphocytes) เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์เพชฌฆาต (Natural killer cells) และ เม็ดเลือดขาวชนิดเก็บกิน (Macrophages) ในการกำจัดเซลล์มะเร็ง
  • บ่งบอกถึง ระดับภูมิคุ้มกันในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง
  • ระดับTNF-𝛼 ที่สูงมากๆ เกินไป บ่งบอกถึง การอักเสบที่รุนแรงของร่างกาย และอาจกระตุ้นให้เกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นภาวะวิกฤตฉุกเฉินได้

12.IFN-𝛼

(Interferon alpha)

  • เป็นไซโตไคน์ที่ก่อการอักเสบ  (pro-inflammatory cytokine) ที่มีระดับสูงขึ้นมากในช่วงที่ร่างกายติดเชื้อไวรัส
  • กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ ชนิดเซลล์เพชฌฆาต (Natural killer cells) ในการกำจัดเซลล์มะเร็ง
  • เป็นไซโตไคน์ที่สำคัญที่มีระดับสูงขึ้นมากในโรคภูมิต้านทานทำลายตนเอง (SLE)

ประโยชน์ของการตรวจประเมินระดับและชนิดของไซโตไคน์ (Cytokine panel test)

ในผู้ป่วยจากโรคต่าง ๆ  โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของร่างกาย เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดต่าง ๆ โรคติดเชื้อ โรคสมองเสื่อม และ มะเร็ง เป็นต้น

ผลจากการตรวจประเมินระดับและชนิดของไซโตไคน์ (Cytokine panel test) สามารถนำมาใช้ในการช่วยวินิจฉัย เลือกใช้ยาที่ช่วยปรับเปลี่ยนไซโตไคน์ชนิดต่างๆให้เข้าสู่สมดุล  และติดตามการรักษา ช่วยในการปรับยา และวางแผนการรักษาเสริมอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ควบคุมโรคได้ดีขึ้น

สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและป้องกันโรค การตรวจประเมินระดับและชนิดของไซโตไคน์ (Cytokine panel test) จะช่วยประเมินภาวะการอักเสบของร่างกายได้จำเพาะมากขึ้น ช่วยประเมินความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น ภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคติดเชื้อเรื้อรัง มะเร็ง รวมทั้งใช้ติดตามผลการรักษา เพื่อวางแผนการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้ดียิ่งขึ้น

  1. Hughes CE, Nibbs RJB. A guide to chemokines and their receptors (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6120486/). FEBS J. 2018;285(16):2944-2971. Accessed 1/3/2023.
  2. Khanna NR, Gerriets V. Interferon (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK555932/?report=reader). 2022 Jul 12. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island, FL: StatPearls Publishing; 2022 Jan-. Accessed 1/3/2023.
  3. Shi J, Fan J, Su Q, Yang Z. Cytokines and abnormal glucose and lipid metabolism (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31736870/). Front Endocrinol (Lausanne). 2019;10:703. Published 2019 Oct 30. Accessed 1/3/2023.
  4. Joseph M. Cicches, Stephanie Evans.et al.Dynamic balance of pro- and anti-inflammatory signals controls disease and limits pathology. Immunol Rev. 2018 September ; 285(1): 147–167.
Share
Akesis Life - Integrative Oncology
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.