ชะลอวัย

ความเสื่อมและการถดถอยของสมรรถภาพร่างกายเป็นสัญญาณที่บอกถึงความชราที่กำลังมาเยือน ซึ่งในหลายๆครั้ง สัญญานเหล่านี้อาจะไม่ได้มาในรูปแบบของริ้วรอย หรือผมหงอกขาวอย่างที่ใครๆเข้าใจ อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดเมื่อยตามตัว ตามข้อต่อต่างๆ ปวดคอ ปวดหลัง สายตาเริ่มล้ามองไม่ค่อยชัด หรือแม้กระทั่งเรื่องสมาธิในการทำงานที่น้อยลง อาการนอนหลับยาก ตื่นง่ายกลางดึก เหล่านี้ก็เป็นสัญญานที่กำลังบอกถึงความเสื่อมหรือความชราได้เช่นกัน

เมื่อเราแรกเกิดถึงอายุเฉลี่ย 20ปี อัตราการสร้างของเซลล์ จะมากกว่าความเสื่อม เราจึงเติบโตตัวใหญ่ขึ้น จนกระทั่งอัตราการสร้างของเซลล์จะค่อยๆน้อยลง จนพอๆกับอัตราความเสื่อมของเซลล์จนถึงอายุ 25ปี และหลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ระยะที่ร่างกายมีความเสื่อมที่เพิ่มขึ้น มากกว่าการสร้างซ่อมแซม ริ้วรอย และสัญญาณความชรา ก็จะปรากฎชัดขึ้น ดังนั้นอายุ 25เป็นต้นไปให้ทำความเข้าใจไว้เลยว่าร่างกายเรากำลังจะแก่แล้วประมาทไม่ได้แล้ว

ซึ่งปัจจัยว่าใครจะแก่เร็ว เสื่อมเร็ว เสื่อมช้าก็ขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้

1. เราเริ่มดูแลตัวเองตอนอายุเท่าไร

เป็นที่แน่นอนว่า ถ้าเราดูแลตัวเองตั้งแต่อายุน้อย สภาพเซลล์ที่ยังไม่เสื่อมมาก เมื่อเวลาผ่านไป สภาพเซลล์ก็มีโอกาสที่เสื่อม หรือถดถอยช้ากว่า ผู้ที่เริ่มตอนอายุเยอะหรือมีความเสื่อมถดถอยของเซลล์มากกว่า ดังนั้นใครๆที่บอกว่าตอนนี้ยังแข็งแรงดี ไม่มีอาการอะไร ไม่ต้องดูแลอะไรมาก รอป่วยแล้วค่อยไปหาหมอก็ได้ หมอคิดว่าเปลี่ยนความคิดใหม่ดีกว่า ดูแลตัวเองเพื่อปกป้อง ดีกว่าต้องร้องไห้เพราะเจ็บป่วย

2. ปัจจัยด้านสารพิษ และสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันนี้ ผมเชื่อว่าทุกคนทราบดีครับว่าโลกของเรา สิ่งแวดล้อมของเรา มีการกระจายและระบาดของสารพิษต่างเพิ่มขึ้น แต่ก็มักจะปลอบใจตัวเองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ลองมาพิจารณาดีๆมลภาวะทางอากาศ ฝุ่นควันต่างในเมืองใหญ่ก็เพิ่มขึ้นจากการก่อสร้าง การจราจรที่แออัดและจากโรงงานและนิคมอุตสาหกรรมต่างที่เรียกได้อยู่รอบตามชานเมือง น้ำเสียที่มีการปนเปื้อนสารพิษโลหะเพิ่มขึ้นก็ปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติให้เรามาดื่ม มาใช้ มีการตรวจพบสารปรอทเพิ่มขึ้นในอาหารทะเล ยาฆ่าแมลง สารเร่งการเติบโตที่เพิ่มขึ้นในผักผลไม้ และจากกปัจจัยเหล่านี้เองเมื่อร่างกายเรารับมาทีละน้อย แต่สะสมบ่อยๆมากขึ้นทุกวันๆ ก็ทำให้เกิดความเสื่อม การอักเสบ การแปรปรวนของร่างกายส่งผลต่อการเกิดมะเร็ง การเกิดหลอดเลือดตีบตันได้ง่าย

3. วิถีชีวิตที่รีบเร่ง

ทำให้หลายๆคนไม่มีโอกาสได้รับประทานอาหารเช้า ใช้อาหารกลุ่มฟาสต์ฟู๊ด รีบเคี้ยว รีบกลืนเพราะกลัวรถติดไปทำงานไม่ทัน หรือบางรายก็ไม่ได้ทานอาหารกันเลย แล้วก็ไปรับประทานหนักช่วงเที่ยง ช่วงเย็นหรือก่อนนอน กระเพาะก็ทำงานหนักเป็นโรคกระเพาะกันเพิ่มขึ้น สมดุลสารอาหารและพลังงานก็เสีย ขาดวิตามิน เกลือแร่ แต่มีการสะสมของไขมันเพิ่มขึ้น

อีกอย่าง หลายๆคนใช้เวลาส่วนใหญ่ อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมงต่อวันหมดไปกับการเดินทาง และการจราจรจึงทำให้ ขาดเวลาดูแลตัวเองและการออกกำลังกาย ความเครียดจากงานเพิ่มขึ้น ความเหนื่อยล้าจากการเดินทาง ปัญหาต่างๆที่รุมเร้าก็ส่งผลให้เกิดอนุมูลอิสระภายในร่างกายทำลายเซลล์ให้เสื่อมลงเช่นกัน

จะเห็นว่ามีหลายปัจจัยพอสมควรที่ทำให้ร่างกายของเราเสียสมดุล เกิดความเสื่อมทำให้แก่เร็ว เกิดริ้วรอยต่างๆ หรือ เป็นโรคเรื้อรังเช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นมากทีเดียว

ดังนั้น การดูแลเพื่อห่างไกลความเสื่อมเหล่านี้ เราจะรอจนป่วยแล้วไปรักษาคงไม่ทันการ แต่ควรจะรีบดูแลกันตั้งแต่ก่อนป่วย และมุ่งเน้นแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของความเสื่อมต่างๆ นี่คือแนวคิดของการแพทย์แบบบูรณาการ

การรักษาแบบบูรณาการ

การปรับสมดุลร่างกาย สมดุลฮอร์โมน ภูมิต้านทานให้สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิต เช่น เน้นที่นอนตื่นแต่เช้า ออกกำลังกายช่วงเช้าจะช่วยกระตุ้นฮอร์โมนและภูมิต้านทานได้ดี หลังจากนั้นก็รับประทานอาหารเช้าเติมพลังให้เต็มที่ แป้งน้อยๆเคี้ยวนานๆ มื้อเที่ยง และมื้อเย็นก็ลดปริมาณลงหลีกเลี่ยงของหวาน หรืออาหารจำพวกแป้ง ที่ให้พลังงานสูงๆเพื่อลดการสะสมของไขมันส่วนเกิน รีบเข้านอนก่อน5ทุ่มเพื่อให้ตับได้พักและทำงานขับพิษได้เต็มที่ และมีการฟื้นฟูซ่อมแซมที่เสียไปในแต่ละวันจากการทำงานของฮอร์โมนเจริญเติบโตเมื่อเราได้หลับสนิท เพียงเท่านี้เราก็จะได้ร่างกายที่แข็งแรงสมดุลได้แล้ว ส่วนปัจจัยได้สารพิษที่รับเข้ามาคงต้องมีตัวช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับสารพิษ และลดอนุมูลอิสระที่จะทำให้เซลล์ของเราเกิดความเสื่อม อาทิเช่นการใช้สารอาหารบำบัดต้านอนุมูลอิสระ การใช้กรดอะมิโนต่างช่วยเพิ่มการขับพิษของตับ การทำคีเลชั่นบำบัด ช่วยขับสารพิษโลหะหนัก เป็นต้น

บทความแนะนำ

Akesis Life - Integrative Oncology
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.