รังสีรักษา หรือการฉายแสง (Radiotherapy) เป็นการใช้รังสีที่มีพลังงานสูงเข้าทำลายสารพันธุกรรม (DNA) ภายในเซลล์มะเร็ง
การใช้รังสีรักษาในการรักษามะเร็ง
- อาจนำมาใช้เพียงอย่างเดียวในการรักษารังสีรักษามักนำมาใช้รักษา มะเร็งปอดบางชนิด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งที่ศีรษะและคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งต่อมลูกหมาก
- ใช้เสริมกับการรักษาวิธีอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด หรือเคมีบำบัด ในการรักษามะเร็งเต้านม มะเร็งปอดระยะแพร่กระจาย มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
- ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดจากมะเร็งที่แพร่กระจาย
รังสี ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่ออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็ง โดยจะทำลายสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งจนเกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้ เซลล์มะเร็งจะถูกหยุดยั้งการเจริญเติบโตและไม่สามารถแบ่งตัวต่อได้ จนตายไปในที่สุด
รังสีไม่ได้ทำลายเซลล์มะเร็งทันทีทันใด แต่ต้องใช้เวลาหลายวันถึงสัปดาห์เพื่อให้เกิดการทำลายสารพันธุกรรมที่มากพอจนกระทั่งเซลล์ตาย
รังสีรักษามีอยู่ 2 รูปแบบ
- การฉายรังสีระยะไกล (External Beam Radiation Therapy)เป็นการรักษาด้วยรังสีที่ออกมาจากเครื่องกำเนิดรังสีที่อยู่ห่างจากตัวผู้ป่วย
- การให้รังสีระยะใกล้หรือการใส่แร่ (Brachytherapy) เป็นการใส่ต้นกำเนิดของรังสีภายในก้อนมะเร็งโดยตรงหรือใกล้ ๆ กับก้อนมะเร็ง การเลือกวิธีฝังแร่ แพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ตำแหน่ง ขนาด และระยะของโรค เป็นต้น การใส่แร่อาจใช้เป็นการรักษาเพียงอย่างเดียว หรือร่วมกับการฉายรังสีภายนอก หรือการผ่าตัด
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการฉายรังสีให้สามารถส่งผ่านรังสีเข้าสู่ก้อนมะเร็งได้แม่นยำมากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดคือ การดื้อต่อรังสีรักษาที่เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง และ microRNA ที่ทำหน้าที่ควบคุมการซ่อมแซม DNA ที่เสียหายจากรังสี
Radiosensitizer คือ สิ่งที่สามารถทำให้เซลล์มะเร็งไวต่อรังสีรักษา เพิ่มประสิทธิภาพการทำลายเซลล์มะเร็งของรังสี
จัดการเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง ยับยั้งการซ่อมแซมเซลล์
Radiosensitizers ได้แก่
- การบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูง Hyperbaric Oxygen Therapy (HBOT) และโอโซนบำบัด
(Ozone therapy)ภาวะที่มีออกซิเจนเพียงพอ รังสีจะสร้างอนุมูลอิสระที่ใช้ทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น ถ้าก้อนมะเร็งขาดออกซิเจน
จะทำให้เซลล์มะเร็งรอดจากการทำลายของรังสีได้การบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูง และโอโซนบำบัด
ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้ซึมผ่านเข้าสู่ก้อนมะเร็งได้มากขึ้นจึงช่วยเพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพการทำลายเซลล์มะเร็งของรังสีนอกจากนี้โอโซนบำบัด ยังช่วยกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานที่จัดการเซลล์มะเร็ง
เพิ่มอนุมูลอิสระที่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งมีการศึกษาการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่มีการกระจายมาที่สมอง เปรียบเทียบ ผู้ป่วยที่ใช้ HBOT
ร่วมกับการฉายรังสีทั้งสมอง
กับผู้ป่วยที่ฉายรังสีอย่างเดียว พบว่า ผลการรักษาโดยรวมทั้งหมด และคุณภาพชีวิต ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ HBOT
ร่วมกับการฉายแสงดีกว่า กลุ่มที่ฉายแสงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ - สารพฤกษเคมีที่สกัดจากธรรมชาติ หลายชนิดในกลุ่มฟลาโวนอยด์ สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งกลไกการเกิดมะเร็ง ลดการอักเสบ
เหนี่ยวนำการตายของเซลล์มะเร็งจากผลของรังสี ยับยั้งการดื้อต่อรังสีของเซลล์มะเร็ง
รวมทั้งยับยั้งเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง (cancer stem cell) จึงมีผลเสริมประสิทธิภาพของรังสีรักษา
สารพฤกษเคมีที่สำคัญเหล่านี้ ได้แก่- Curcumin (สารสกัดขมิ้น)
- Resveratrol/Stilbene (สารสกัดจากเปลือกองุ่นแดง)
- Genistein (สารสกัดจากถั่วเหลือง)
- Quercetin (สารสกัดจากหัวหอม)
- Cathecin/EGCG (สารสกัดชาเขียว)
- Berberine (สารสกัดจาก golden seal)
สารพฤกษเคมีเหล่านี้ สามารถออกฤทธิ์ยับยั้ง ปรับเปลี่ยนโมเลกุลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ การอักเสบ การแบ่งเซลล์ การตายของเซลล์ การสร้างหลอดเลือดใหม่ การอยู่รอดของเซลล์มะเร็ง ได้หลากหลายโมเลกุล หลากหลายเส้นทาง รวมทั้ง ยับยั้งเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง ยับยั้งโมเลกุลต่างๆที่ทำให้เกิดการดื้อรังสีรักษา
ทั้งการศึกษาในห้องทดลอง และสัตว์ทดลอง พบว่า เมื่อให้สารพฤกษเคมี ร่วมกับรังสี ช่วยเพิ่มกำจัดเซลล์มะเร็งหลายชนิด ได้แก่ เซลล์มะเร็งสมอง เซลล์มะเร็งโพรงจมูกและคอหอย เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก เซลล์มะเร็งตับอ่อน เซลล์มะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งผิวหนัง melanoma
การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการฉายแสง ร่วมกับได้รับสารพฤกษเคมี พบว่า ได้ผลดีในการรักษามะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่
สารพฤกษเคมีเหล่านี้มีการใช้ทั้งรูปแบบรับประทานและให้ทางหลอดเลือด
นอกจากจะเสริมฤทธิ์รังสีรักษา ช่วยใหเซลล์มะเร็งไม่ดื้อต่อรังสีรักษา ที่เรียกว่า radiosensitizers แล้ว สารพฤกษเคมีก่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยมาก และยังช่วยปกป้องเซลล์ปกติ ช่วยลดผลข้างเคียงจากรังสีรักษา จัดเป็น radioprotectors อีกด้วย
- Repurposing drugs คือการนำยาที่ใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น ยารักษาเบาหวาน ยาลดไขมันในเลือด ยาลดปวดต้านการอักเสบ ยาฆ่าพยาธิ ยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น มาใช้รักษามะเร็งร่วมกับการรักษาอื่นๆ
- ยาเคมีบำบัดขนาดต่ำ (Low dose concurrent chemotherapy/Metronomic chemotherapy)
- Local hyperthermia เป็นวิธีการให้ความร้อนลงไปที่ก้อนมะเร็งให้มีอุณหภูมิ 39- 45 องศาเซลเซียส โดยใช้เครื่องมือที่สามารถส่งผ่านความร้อนลงไปที่ก้อนมะเร็งโดยตรง โดยไม่ทำให้ผิวหนังด้านบนหรือเนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดอันตราย
ผลของการให้ความร้อนที่ก้อนมะเร็ง ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มการไหลเวียนเลือด ช่วยให้รังสีทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น และลดการดื้อต่อรังสีของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง
โดยมีรายงานผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ลุกลามต่อมน้ำเหลืองและผิวหนังบริเวณก้อน และผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เคยรักษาด้วยการฉายแสงมาก่อนแล้วกลับเป็นซ้ำ มารักษาด้วยการฉายแสงร่วมกับการทำ Local hyperthermia หลังจากฉายแสงในวันเดียวกัน พบว่า ช่วยควบคุมโรคได้ดี และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้มากขึ้น
- วิตามินซีบำบัดขนาดสูงที่ให้ทางหลอดเลือด ออกฤทธิ์ต้านมะเร็งหลายกลไก เช่น ทำลายสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการแบ่งเซลล์ เหนี่ยวนำการตาย รบกวนการส่งสัญญาณต่าง ๆ ของเซลล์มะเร็ง
ในการรักษามะเร็งแบบบูรณาการ นอกจากการนำวิธีการรักษาต่างๆข้างต้นมาใช้เพื่อช่วยเสริมฤทธิ์รังสีรักษาแล้ว ยังมุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบองค์รวมในทุกด้านที่เป็นแบบเฉพาะบุคคลเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตแบบมีคุณภาพ
- T.Ruba and Dr.R.Tamilselvi. Asian Journal of Applied Science and Technology (AJAST) Volume 2, Issue 1, Pages 77-86, 2018. Radiosensitizers and Radioprotectors for Effective Radiation Therapy– A Review
- Arif Malik, Misbah Sultana, et al. Hindawi Publishing Corporation Analytical Cellular Pathology Volume 2016, Article ID 6146595, 8 pages http://dx.doi.org/10.1155/2016/6146595. Role of Natural Radiosensitizers and Cancer Cell Radioresistance: An Update.
- Alexander MS, Wilkes JG, Schroeder SR, Buettner GR, Wagner BA, Du J, et al. Pharmacologic Ascorbate Reduces Radiation-Induced Normal Tissue Toxicity and Enhances Tumor Radiosensitization in Pancreatic Cancer. Cancer Res. 2018 Dec 15;78(24):6838–51.
- Dominika Komorowska, Tomasz Radzik, et al. Int. J. Mol. Sci. 2022, 23, 10627. https://doi.org/10.3390/ijms231810627. Natural Radiosensitizers in Radiotherapy: Cancer Treatment by Combining Ionizing Radiation with Resveratrol
- Bimal Prasad Jit, Biswajita Pradhan, et al. Antioxidants 2022, 11, 49. https://doi.org/10.3390/antiox11010049. Phytochemicals: Potential Therapeutic Modulators of Radiation Induced Signaling Pathways
- Mohammad K Khan, MD Ph.D., Tahseen Nasti, PhD et al, Cancer J. 2019 ; 25(2): 106–115. doi:10.1097/PPO.0000000000000369. Repurposing Drugs for Cancer Radiotherapy: Early successes and emerging opportunities
- Sabah Nisar a, Tariq Masoodi b, et al. Biomedicine & Pharmacotherapy 154 (2022) 113610. Natural products as chemo-radiation therapy sensitizers in cancers
- Qiaozhen Kang, Xiaomiao Zhang, et al. Food and Chemical ToxicologyVolume 133, November 2019, 110807. EGCG enhances cancer cells sensitivity under 60Coγ radiation based on miR-34a/Sirt1/p53
- Vincent Anku, MD. J Natl Med Assoc. 2000;92:105-1 15.Successful Low-dose concurrent chemotherapy and radiation for locally advanced or inoperable Non-Small Cell Lung Carcinoma (NSCLC): A report of six cases.
- Tamer Refaat, Sean Sachdev, et al.The Breast Volume 24, Issue 4, August 2015, Pages 418-425. Hyperthermia and radiation therapy for locally advanced or recurrent breast cancer
- Azzaya Sengedorj, Michael Hader, et al. Current Stem Cell Reports (2022) 8:129–138. Interaction of Radiotherapy and Hyperthermia with the Immune System: a Brief Current Overview
- Somayeh Khazaei, Linn Nilsson, et al. Oncotarget, 2022, Vol. 13, pp: 439-453. Impact of combining vitamin C with radiation therapy in human breast cancer: does it matter?
- Jing Tao, Zhaoyu Gao, et al. Experimental And Therapeutic Medicine 17: 465-471, 2019. Therapeutic effect of combined hyperbaric oxygen and radiation therapy for single brain metastasis and its influence on osteopontin and MMP‑9
- Jung-Mu Hur, Dongho Kim, Toxicol. Res. Vol. 26, No. 2, pp. 109-115 (2010). Berberine Inhibited Radioresistant Effects and Enhanced Anti-Tumor Effects in the Irradiated-Human Prostate Cancer Cells