มะเร็งของเซลล์ในระบบน้ำเหลือง แบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

    • ฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma)
    • นอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma)
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
    • อายุที่เพิ่มขึ้น
    • ภูมิคุ้มกันที่ลดลง หรือ ภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ
    • การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัส EBV
    • การสูบบุหรี่
    • ประวัติครอบครัว
    • น้ำหนักตัวที่มากผิดปกติ

อาการแสดง ที่พบบ่อยได้แก่

    • มีไข้ไม่ทราบสาเหตุ
    • มีก้อนตามลำตัว โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นพื้นที่ของต่อมน้ำเหลืองเช่น ลำคอ ไหปลาร้า รักแร้ ขาหนีบ บางส่วนพบก้อนในช่องอกและช่องท้อง
    • มีเหงื่อออกช่วงเวลากลางคืน
    • น้ำหนักลดผิดปกติ
    • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

ความเป็นไปของโรคอาจพบลักษณะที่โรคลุกลามอย่างรวดเร็ว (aggressive) หรือ โรคที่ลุกลามแบบช้า ๆ (indolent) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดสามารถรักษาให้หายได้ หรือรักษาให้โรคสงบได้เป็นระยะเวลานาน

การวินิจฉัย การพิสูจน์ชิ้นเนื้อ (Biopsy)

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองตามมาตรฐานการแพทย์ปัจจุบัน

มาตรฐานการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองเน้นไปที่การให้ยาที่มีผลต่อทุกส่วนของร่างกาย ได้แก่การให้ยาเคมีบำบัด ยาพุ่งเป้า ยาภูมิคุ้มกันบำบัด  การฉายแสงเฉพาะจุด และหรือการใช้เซลล์บำบัด (Stem cell therapy, CAR T-cell therapy)

การรักษาร่วมกับการรักษามาตรฐาน

  1. การบำบัดด้วยโอโซน (Ozone therapy) จะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และส่งเสริมผลการรักษาในการควบคุมโรค อีกทั้งภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้นจะช่วยควบคุมการติดเชื้อไวรัสในร่างกายและยังกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารต้านอนุมูลิสระเพิ่มขึ้น ผลข้างเคียงอาจพบมีปฏิกิริยา Herxheimer reaction (มีไข้ปวดหัว มีผื่น) เป็นสภาวะที่แก้ไขได้ และ ไม่อันตราย
  2. การบำบัดด้วยความร้อน (Hyperthermia) การบำบัดด้วยความร้อน ช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น
    เหมือนมีไข้เทียม โดยส่วนมากใช้เป็นเทคนิคการรักษาร่วมกับการให้เคมีบำบัด โดยจะให้หลังหรือให้ในวันเดียวกับที่ได้เคมีบำบัด เพื่อให้เคมีบำบัดทำงานได้ดีขึ้นยาสามารถกระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อมะเร็งได้มากขึ้น และเร่งปฏิกิริยาเคมีผลข้างเคียงในบางรายอาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะหรือคลื่นไส้ อาเจียน
  3. การบำบัดด้วยการนวดระบายน้ำเหลือง (ELT; electro-lymphatictherapy)เป็นการนวดร่างกายไปตามระบบท่อน้ำเหลืองโดยใช้เครื่องมือ ที่มีกลไกการทำงานในแง่ของคลื่นไฟฟ้า แสง และการสั่น เพื่อให้น้ำเหลืองไหลเวียนได้ดี ลดการคั่งของของเสีย ลดการอ่อนเพลีย และเมื่อยล้า
  4. การบำบัดด้วยแสง (Light therapy) การใช้แสงสีแดง (low-level red infrared light) สามารถช่วยลดผลข้างเคียงเช่นอาการชาปลายมือ ปลายเท้า หรือ ช่วยในเรื่องเยื่อบุช่องปากอักเสบ และผิวหนังอักเสบจากยาเคมีบำบัดบางชนิดได้การใช้แสงสีอื่น ๆ ในการช่วยรักษาอาการปวด อาการอ่อนเพลีย การนอนหลับ หลังจากได้ยาเคมีบำบัด
    เป็นต้น
  5. การให้สารน้ำทางเส้นเลือด หากทานได้น้อยกว่าปกติเป็นเวลานาน หรือมีภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (Intravenous nutrition)
  6. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดการอักเสบกับลำไส้และร่างกาย (Food intolerance)
  7. การปรับวิถีชีวิต ให้แข็งแรงเพื่อสู้กับโรค (Lifestyle modification)
  8. สารสกัดหรืออาหารเสริม ได้แก่ วิตามินดี3 ไวตามินซี  สังกะสี กระเทียม  สารสกัดเมล็ดองุ่น (Grapeseed extract)สารสกัดชาเขียว (EGCG) omega-3 fish oil
  9. การใช้ Mistletoe ในการเสริมการรักษา
Share
Akesis Life - Integrative Oncology
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.