รังไข่ เป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบสืบพันธุ์ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงและผลิตไข่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์
ช่วงอายุของสตรีที่มักจะพบเป็นมะเร็งรังไข่คือ 55-64 ปี
อาการแสดงเริ่มต้น อาจจะรู้สึกว่าท้องโตขึ้น ทานอาหารอิ่มเร็ว แน่นท้อง หรือมีอาการปวดท้องแบบผิดปกติ
การตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานคำแนะนำ ยกเว้นกรณีที่ทราบอยู่แล้วว่ามี การกลายพันธุ์ ของยีน BRCA1 และ BRCA2 จะแนะนำให้ทำการตรวจอัลตราซาวด์ผ่านทางช่องคลอด ร่วมกับตรวจเลือดดูระดับ ค่า CA 125 ทุก 6-12 เดือน
แนวทางการรักษาปัจจุบัน
- ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ทุกคนควรได้รับการตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีน
- การรักษาหลักคือการผ่าตัด มดลูกและรังไข่ออก à โดยจะให้ร่วมกับยาเคมีบำบัด
- ปัจจุบันมีการให้ยาพุ่งเป้าหลังการรักษาเคมีบำบัดเสร็จสิ้นเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค
แนวทางการรักษาเสริม
- การดูแลร่วมกับการผ่าตัด
- แนะนำให้หยุดทานอาหารเสริม ทุกตัวก่อนการผ่าตัด 7 วัน
- ส่งเสริมให้ร่างกายมีสารอาหารโปรตีนที่เพียงพอ
- วิตามินและเกลือแร่ที่เพียงพอ ต่อการฟื้นตัวและการหายของแผลผ่าตัด เช่นวิตามินเอ วิตามินซี แร่ธาตุสังกะสี
- แผลผ่าตัดดูแลด้วย วิตามินอี หรือ Rose Hip Oil
แนวทางการรักษาเสริม
- การดูแลร่วมกับการผ่าตัด
- แนะนำให้หยุดทานอาหารเสริม ทุกตัวก่อนการผ่าตัด 7 วัน
- ส่งเสริมให้ร่างกายมีสารอาหารโปรตีนที่เพียงพอ
- วิตามินและเกลือแร่ที่เพียงพอ ต่อการฟื้นตัวและการหายของแผลผ่าตัด เช่นวิตามินเอ วิตามินซี แร่ธาตุสังกะสี
- แผลผ่าตัดดูแลด้วย วิตามินอี หรือ Rose Hip Oil
- การดูแลร่วมกับการผ่าตัด
- แก้ปัญหาอาการวัยทองหลัง และกระดูกบาง จากการผ่าตัดรังไข่ออกทั้งหมด
- สารสกัดธรรมชาติ น้ำมันอีฟนิงพริมโรส (Evening Primrose Oil) แบล็คโคฮอช (Black Cohosh) เซนต์จอห์นเวิร์ต ( John’s Wort)
- เสริมด้วยแร่ธาตุแคลเซียม วิตามิน ดี 3 และวิตามินเค 2 เพื่อป้องกันกระดูกบาง
- การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ สร้างความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ ลดไขมันเลว (LDL) ลดโอกาสเกิดความดันโลหิตสูง ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ โดยเลือกออกกำลังกายตามที่ชอบก่อน จากนั้นค่อย ๆ ปรับเพิ่มระดับความเข้มข้นของการออกกำลังกายจากความเข้มข้นน้อยไปสู่ความเข้มข้นปานกลาง (Light to Moderate Exercise)
แนะนำให้มีการออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อด้วย (Strengthening Exercise)
- การดูแลร่วมกับเคมีบำบัด
- สูตรยาเคมีที่นิยมใช้ในการรักษามะเร็งรังไข่ มักจะมีผลข้างเคียง เช่น กลุ่มยา แพลทินัม อาจจะกดไขกระดูก และทำให้คลื่นไส้อาเจียน หรือ กลุ่มยา Taxanes ที่มีผลต่อปลายประสาททำให้มีปลายนิ้วมือและเท้าชา เป็นต้น การดูแลร่วมสามารถให้วิตามินหรือสารสกัดบางอย่างที่มีฤทธิ์ในการช่วยป้องกันผลข้างเคียงจากยา โดยไม่กระทบการทำงานของเคมีบำบัด เช่น มีงานวิจัยเรื่องการให้ alpha-lipoic acid ในการป้องกันมือเท้าชาจากยากลุ่ม Taxanes
- การเสริมฤทธิ์ยาเคมีด้วยการให้ความร้อนกับร่างกาย เช่นการให้ความร้อนทั่วร่างกาย Systemic Hyperthermia หรือ การให้ความร้อนเฉพาะที่ Local Hyperthermia
- หากมีภาวะซีดจากยาเคมีบำบัดสามารถเข้ารับการปรึกษาเรื่อง การบำบัดด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy)