กระเพาะปัสสาวะเป็นส่วนของร่างกายที่มีผนังหนาหลายชั้น พบว่าส่วนมากเซลล์มะเร็งเริ่มเกิดขึ้นที่เยื่อบุผนังชั้นใน และเมื่อโตขึ้นจนเป็นก้อนแล้ว ก้อนมะเร็งจะค่อย ๆ กินลึกออกไปสู่ผนังชั้นนอก

ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมักมาพบแพทย์ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยอาการที่นำมาได้แก่ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะบ่อย ปวดท้องน้อยเวลาที่ปัสสาวะ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็ง เช่น

  • เพศชาย
  • เชื้อชาติผิวขาว
  • การสูบบุหรี่
  • ประวัติครอบครัวที่มีมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ภาวะ Lynch Syndrome
  • ประวัติเคยฉายแสงบริเวณกระเพาะปัสสาวะ
  • การสัมผัสสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น โลหะหนัก กลุ่มสารอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เบนซีน และสารพิษจากสี
  • ยาบางชนิด เช่น pioglitazone
  • ภาวะอ้วนผิดปกติ

แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจะแบ่งเป็น 3 แบบ (ขึ้นกับว่าตรวจพบเซลล์มะเร็งในผนังกระเพาะปัสสาวะชั้นใดบ้าง)

     กลุ่มที่ 1 เซลล์มะเร็งยังอยู่ผนังชั้นในกระเพาะปัสสาวะ ไม่กินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ (Non-Muscle Invasive Bladder Cancer: NMIBC T1) สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการส่องกล้องตัดส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป ผู้ป่วยบางกลุ่มอาจได้รับการรักษาเพิ่มเติมตามความเสี่ยงที่พบเช่น การให้ฉีด BCG เข้าไปร่วมกับการส่องกล้อง เน้นการดูแลที่ป้องกันไม่ให้เกิดการกลับเป็นซ้ำ

     กลุ่มที่ 2 เซลล์มะเร็งกระจายออกไปสู่ชั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะปัสสาวะ (Muscle Invasive Bladder Cancer: MIBC)

กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องมีข้อมูลจากการตรวจที่มากที่สุดเพราะต้องประเมินว่า ระยะมะเร็งที่พบสามารถทำการรักษาด้วยการไม่ผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออก ได้หรือไม่ หรือผู้ป่วยมีความเสี่ยงจะเป็นระยะกระจายหรือไม่ ต้องได้เคมีบำบัดหรือไม่ ถ้าได้รับการรักษาที่เหมาะสมมีโอกาสที่โรคจะไม่กลับมาเป็นซ้ำ

     กลุ่มที่ 3 เซลล์มะเร็งมีการกระจายออกนอกกระเพาะปัสสาวะไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เป้าหมายการรักษาเพื่อควบคุมโรคไม่ให้มีการกระจายเพิ่มมากขึ้น

การดูแลด้านการแพทย์บูรณาการ

  • การแพทย์บูรณาการสนับสนุนให้ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเข้ารับการรักษาตามขั้นตอนของแพทย์แผนปัจจุบัน
  • การรักษาบูรณาการสามารถให้การดูแลเพิ่มเติม ได้ดังนี้
  1. ลดความเสี่ยงของการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ด้วยการปรับวิถีการดำเนินชีวิต การลดการอักเสบของร่างกายด้วยอาหาร การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน
  1. ให้การดูแลในช่วงที่ได้รับการผ่าตัด การให้เคมีบำบัด หรือการฉายแสงในบางกรณี เพื่อให้คนไข้ยังแข็งแรง และสามารถรับการรักษาจากโรงพยาบาลได้อย่างเต็มที่ เช่นการให้คำแนะนำด้านสารอาหารที่จำเป็นต่อความสมบูรณ์ของร่างกาย การให้การรักษาทางกายภาพเพื่อลดผลข้างเคียงจากการรักษา การกระตุ้นการไหลเวียนของระบบน้ำเหลือง หรือการให้ความร้อนกับร่างกายในช่วงที่ได้รับเคมีบำบัด (Hyperthermia)
  1. สารสกัดจากพืชที่อาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้แก่ สารขมิ้นชัน (Curcumin) สารสกัดกลุ่มน้ำมันปลา Omega 3 Fish Oil  พืชผักกลุ่มใบหยิก (Cabbage Family) เช่น บรอกโคลี กระหล่ำปลี มีสาร Sulforaphane  สารสีส้ม (Carotene)จากพืช กลุ่มแครอท  สารสกัดจากชาเขียว (EPIGALLOCATECHIN GALLATE :EGCG) หรือ การให้ Probiotics
  1. https://www.cancer.org/cancer/types/bladder-cancer/about/what-is-bladder-cancer.html
  2. https://www.nccn.org/professionals/physician_gls/pdf/bladder.pdf
  3. Rutz J, Janicova A, Woidacki K, Chun FK, Blaheta RA, Relja B. Curcumin-A Viable Agent for Better Bladder Cancer Treatment. Int J Mol Sci. 2020 May 26;21(11):3761. doi: 10.3390/ijms21113761. PMID: 32466578; PMCID: PMC7312715.
  4. Piwowarczyk L, Stawny M, Mlynarczyk DT, Muszalska-Kolos I, Goslinski T, Jelińska A. Role of Curcumin and (-)-Epigallocatechin-3-O-Gallate in Bladder Cancer Treatment: A Review. Cancers (Basel). 2020 Jul 5;12(7):1801. doi: 10.3390/cancers12071801. PMID: 32635637; PMCID: PMC7408736.
  5. Kennelley GE, Amaye-Obu T, Foster BA, Tang L, Paragh G, Huss WJ. Mechanistic review of sulforaphane as a chemoprotective agent in bladder cancer. Am J Clin Exp Urol. 2023 Apr 15;11(2):103-120. PMID: 37168941; PMCID: PMC10165231.
Share
Akesis Life - Integrative Oncology
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.