“อนุมูลอิสระที่มากเกินไป เป็นจุดเริ่มต้นของโรคความเสื่อม โรคเรื้อรังทั้งหมด รวมไปถึง โรคมะเร็ง”

Oxidative stress คือ สภาวะที่เกิดความไม่สมดุล (Imbalance) ระหว่างการเกิดอนุมูลอิสระ (Free radicals) ภายในร่างกาย กับ ความสามารถในการกำจัด/เก็บกวาดอนุมูลอิสระเหล่านี้ ผ่านกลไกการต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติของร่างกาย (endogenous antioxidant enzymes)

อนุมูลอิสระ (Free radicals) คือโมเลกุลที่ประกอบไปด้วยออกซิเจนอย่างน้อย 1 โมเลกุล ร่วมกับอิเล็กตรอนที่ไม่มีคู่ (Unpaired electron) ทำให้มันไม่มีความเสถียร และต้องไปจับกับโมเลกุลอื่น เช่น โปรตีน ไขมัน กรดนิวคลีอิก ทำให้โมเลกุลเหล่านี้ถูกทำลายโครงสร้าง ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพ และสูญเสียการทำงานที่ดีของโมเลกุลนั้นไป นำไปสู่ความแก่ของเซลล์ และโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ สมองเสื่อม ไตเสื่อม หรือแม้แต่โรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ (Free radicals) เช่น Reactive Oxygen Species (ROS), Superoxide Anions, Hydroxyl Radicals, Hydrogen Peroxide เกิดได้จากทั้งภายในร่างกาย (Endogenous) และภายนอกร่างกาย (Exogenous)

  1. กระบวนการสันดาบพลังงานของเซลล์ผ่าน      Aerobic Respiration การเปลี่ยนอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เป็นพลังงาน ATP ผ่านการทำงานของโรงงานสร้างพลังงานคือ ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) ที่จะต้องสร้างอนุมูลอิสระเสมอ เปรียบเสมือนรถยนต์ที่เผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อเป็นพลังงานขับเคลื่อนเครื่องยนต์ ย่อมต้องเกิดเขม่าควันขึ้นมา
  2. การอักเสบภายในร่างกายก็สร้างอนุมูลอิสระ เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว Macrophages จะใช้ ROS ในการฆ่าเชื้อโรค (Pathogens)
  3. การได้รับอาหาร หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่สร้างอนุมูลอิสระ
    • Oxidative Stress ที่มาจากอาหาร เช่น อาหารทอดความร้อนสูง อาหารที่น้ำตาลสูง อาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ การทานอาหารที่มากเกินไป
    • การสูบบุหรี่ (Cigarette Smoking)
    • การดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol Consumption)
    • การสัมผัสแสงยูวี ( UV radiation) หรือ Ionizing Radiation
    • สารพิษจากสิ่งแวดล้อม (Environmental Toxins)
    • สารโลหะหนัก (Heavy Metals Exposure , Chronic Metal Syndrome)
    • ยาบางชนิด เช่น NSAIDs, AZT, Doxorubicin

คนที่สุขภาพแข็งแรง การเกิดอนุมูลอิสระนี้จะเกิดแบบควบคุม และ Balance ได้ เพราะ ROS ถือเป็น Essential Signaling Molecules เพราะการมี Oxidative Stress แบบเล็กน้อย ถึงปานกลาง (Mild to Moderate) จะกระตุ้น Nrf2 ที่จะไปสร้าง Protective Antioxidant Enzymes อย่าง Superoxide Dismutase และ Glutathione Peroxidase ให้ทำงานมากขึ้น และเป็นผลดีต่อสุขภาพและความอายุยืนยาวอีกด้วย แต่ในทางกลับกันหากมีมากเกินไป และเกินความสามารถของร่างกายที่จะปรับสมดุลได้ ก็จะนำไปสู่การอักเสบ เซลล์เสื่อม เซลล์แก่ และเซลล์ตายในที่สุด

การตรวจเพื่อวัด oxidative Damage

มีหลาย Tests ที่จะใช้เพื่อประเมินระดับของ Oxidation Stress ในร่างกาย

  1. วัดการทำลาย (Oxidative Damage) ต่อ Lipids, Proteins และ Nucleic Acid
    • วัด Lipid Peroxidation เช่น การตรวจ Malondialdehyde (MDA) , Glutathione 4-Hydroxylnonenal (4-HNE) ,
      F2-Isoprostanes, Oxidized LDL Antibodies เป็นต้น
    • วัด Protein Oxidation เช่น การตรวจ Dityrosine ซึ่งเป็น Protein Oxidation ที่มีรายงานว่ามีบทบาทใน
      Alzheimer’s Disease
    • วัด DNA Damage โดยการตรวจ 8-Hydroxy-2-Deoxyguanosine (8-OHdG)
    • วัด Nitritive Stress Markers เช่น 8-Nitroguanosine
    • วัด Advanced Glycation products เช่น NE-(carboxymethyl) lysine (CML)
  1. วัดที่ Antioxidant Enzymes Activity เพื่อประเมินความสามารถในการกำจัด ROS เช่นดู Redox Assays (GSH:GSSG), วัด
    Catalase , Glutathione S-Transferase (GSTs) , Superoxide Dismutase (SOD) เป็นต้น
  2. วัดดู Micronutrient Profiles เพื่อประเมิน Antioxidant Levels ในร่างกาย
    ว่าน่าจะมีเพียงพอที่จะกำจัดอนุมูลอิระหรือไม่ ต้องเสริมตัวไหน

ใครที่เหมาะจะตรวจ Oxidative Stress Markers?

คำตอบคือ ทุกคนที่มีความเสี่ยงที่จะมี Oxidative Stress เพิ่มขึ้นในร่างกาย

    • ผู้ที่อาจจะไม่สามารถทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระแต่ละวันได้เพียงพอ ชอบทานอาหารที่เสี่ยงก่อให้เกิด Oxidative Stress สูง เช่น อาหารที่น้ำตาลสูง อาหารแปรรูป อาหารใช้ความร้อนสูง อาหารผัด มัน ทอด ปิ้ง ย่าง รวมถึงการทานอาหารที่เกินความต้องการของร่างกายด้วย
    • ผู้ที่มีโอกาสสัมผัสกับสารพิษผ่านการกินดื่ม หายใจ สัมผัส เช่น โลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม  สารหนู  สารพิษจากพลาสติก  Dioxins ในเนื้อสัตว์ นม ไข่ PCBs ในไก่ ปลา เป็นต้น
    • ผู้ที่สูบบุหรี่
    • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
    • ผู้ที่มีวิถีชีวิตไม่สมดุล พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก มีความเครียดสูง ไม่ได้ออกกำลังกาย
    • ผู้ที่เริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีสุขภาพที่แย่ลง การกินอยู่หลับนอนเริ่มผิดปกติ ไม่สดชื่นแข็งแรงเหมือนแต่ก่อน เพราะ แม้จะยังไม่ได้เป็นโรคอะไรชัดเจน เราก็อาจจะกำลังเดินทางสู่การเป็นโรคบางอย่างโดยไม่รู้ตัว ถ้าเราเฝ้าระวังก่อน ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะเป็นโรคได้

“Oxidative Stress is A Fundamental Pillar of Aging” ดังนั้นไม่อยากเจ็บ ไม่อยากป่วย ไม่อยากแก่ ให้รู้ทัน Oxidative Stress ตั้งแต่วันนี้

Share
Akesis Life - Integrative Oncology
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.