มะเร็งปอดเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้น ๆ ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด  สาเหตุหลักประมาณ 85% เกิดจากการสูบบุหรี่  การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดอาจล่าช้าหากผู้ป่วยไม่ได้ตระหนักถึงอาการที่ตนเองเป็น  ซึ่งนั่นอาจส่งผลทำให้ตัวโรคเข้าสู่ระยะลุกลามแล้วถึงได้รับการวินิจฉัย ซึ่งการรักษาจะทำได้ยากขึ้น การตรวจคัดกรองในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจึงสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาตั้งแต่ระยะต้น ๆ ของตัวโรค

          ชนิดของมะเร็งปอดที่พบมากที่สุดคือ มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก  (Small Cell Lung Cancer) และ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer)

          มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก สามารถพบได้มากกว่า และมีการแพร่กระจายช้ากว่า ต่างจากมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก ซึ่งพบได้น้อยกว่าและแพร่กระจายได้เร็วกว่า

อาการของโรคมะเร็งปอด

อาการมีได้หลายอย่างซึ่งส่วนใหญ่สัมพันธ์กับปอด

อาการที่พบได้บ่อย

  • ไอเรื้อรังทั้งมีและไม่มีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจไม่อิ่ม หอบเหนื่อย หายใจลำบาก
  • ไอเป็นเลือด
  • ติดเชื้อในปอดหลายครั้ง
  • เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด

  • บุหรี่ คือสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุด ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบประมาณ 20 เท่า
  • การได้รับมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นควัน ควันบุหรี่จากผู้อื่น สารเคมี แอสเบสทอส สารโลหะหนัก มลพิษจาก 5
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งปอด

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low-Dose Helical Computerized Tomography) 
  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography Scan หรือ CT scan) 
  • การตรวจด้วยวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (PET scan)
  • การส่งตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) ซึ่งเป็นการส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ทำให้ทราบถึงชนิดของมะเร็งได้

ระยะของโรคมะเร็งปอด

  1. ระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
    • ระยะจำกัด (Limited-Stage) เป็นระยะที่มะเร็งพบอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงเท่านั้น
    • ระยะลุกลาม (Extensive-Stage) เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่องทรวงอกข้างนั้น หรือออกจากปอดสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย
  2. ระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
    • ระยะที่ 1 ยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ก้อนมะเร็งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 เซนติเมตร
    • ระยะที่ 2 มีการลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอดชั้นนอก และผนังหน้าอกหรือมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั้วปอดหรือที่อยู่ใกล้ ๆ  กับก้อนมะเร็ง โดยก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร
    • ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง และแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่น ๆ ในข้างเดียวกัน หรือไปยังต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้น ๆ ได้แก่ กระดูกซี่โครง กระบังลม และเยื่อหุ้มปอด
    • ระยะที่ 4 มะเร็งที่กระจายออกนอกเนื้อปอด ไปยังที่ไกลจากจุดเริ่มต้น และมะเร็งที่กระจายไปที่เยื่อหุ้มปอดหรือแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น ๆ  เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง

การรักษามะเร็งปอด

  • การผ่าตัด
  • การฉายรังสีรักษา (Radiotherapy)
  • การใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
  • การใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
  • การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (Targeted Therapy)
  • การรักษาแบบผสมผสาน เป็นการรักษามะเร็งโดยใช้หลายวิธี หรือหลายศาสตร์
Share
Akesis Life - Integrative Oncology
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.