ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาที่ Akesis จะมีทั้งหมดอยู่ 4 กลุ่ม อาทิเช่น

  1. กลุ่มผู้ที่สุขภาพที่ดีที่มีความประสงค์จะรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  2. กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหรือรอยโรค และต้องการดูแลเตรียมสภาพร่างกายและจิตใจก่อนเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล
  3. กลุ่มคนไข้มะเร็งที่อยู่การรักษามะเร็งอ และต้องการทางเลือกเพิ่มเติมในการรักษา
  4. กลุ่มคนไข้ที่ผ่านการรักษามะเร็งและเข้าสู่ระยะสงบโรค ต้องการฟื้นฟูสุขภาพ แก้ไขต้นเหตุของปัญหาและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค

เสาหลัก 5 ประการของการดูแลรักษาคนไข้มะเร็งแบบการแพทย์บูรณาการ

เสาหลักที่ 1   : การตรวจรักษาด้วยวิธีการแพทย์แผนปัจจุบัน

Conventional Medicine

แนวทางการตรวจวินิจฉัย รวมถึงการรักษามะเร็งตามแบบแผนของการแพทย์ปัจจุบัน จะมีการรวบรวมการศึกษาต่างๆ และผ่านการประชุมร่วมกันของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กำหนดแนวทางในการดูแลเป็นขุ้นเป็นตอน ตั้งแต่การตรวจคัดกรอง การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆรวมถึง การตัดชิ้นเนื้อ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่แน่ชัด รวมไปถึงการประเมินระยะของโรคมะเร้ง เพื่อพิจารณาการบริหารยา หรือการทำหัตถการต่างๆในการรักษาได้แก่ การผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด การบำบัดทางรังสีวิทยา การใช้ยามุ่งเป้า หรือยาระบบภูมิต้านทานบำบัด เป็นต้น ซึ่งในบางครั้งการรักษาที่คนไข้ได้รับ อาจไม่สามารถกำจัดต้นตอของมะเร็งได้ทั้งหมด เช่น    ยากลุ่มเคมีบำบัดจะมีข้อดีคือสามารถทำลายเซลล์มะเร็งที่อยู่ในระยะแบ่งตัวได้ดี แต่อาจส่งผลน้อยมากกับ เซลล์มะเร็งต้นกำเนิดหรือ Cancer stem cell ทำให้เกิดการกลับมาเป็นซ้ำของโรค รวมไปถึงการเกิดภาวะดื้อยาของเซลล์มะเร็งอีกด้วย

 ผลลัพท์ของการรักษาจึงขึ้นกับชนิดของมะเร็ง และระยะของการดำเนินโรค มะเร็งในระยะเริ่มต้นที่เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาและสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งออกได้ทั้งหมดรวมถึงเซลล์มะเร็งต้นกำเนิดจึงมักจะมีผลลัพทธ์ที่ดีหรือมีอัตราการรอดชีวิตที่มากกว่า มะเร็งในระยะลุกลาม จากภาพที่ 6 จะเป็นข้อมูลเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิตใน 5 ปี เทียบกับมะเร็งในการดำเนินโรคแต่ละระยะ เช่น ถ้ามะเร้งเข้าสู่ระยะลุกลามหรือ Metastastic stage แล้วภาพรวมจากมะเร็งทุกชนิด เฉลี่ยจะมีอัตราการรอดชีวิตใน 5 ปี เหลือเพียง 26.2 % และจากสถิติเหล่านี้เอง Akesis จึงมีแนวทางของการใช้การแพทย์บูรณาการมาผสมผสาน เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนไข้ของเรา เป็น 1 ในผู้ที่ตอบสนองต่อการรักษา และกลายมาเป็นผู้ที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็ง

เสาหลักที่ 2   : การยั้บยั้งหลายเป้าหมายการเติบโตของเซลล์มะเร็ง

Multiple Targeted Therapy

ธรรมชาติของเซลล์มะเร็ง เมื่อมีการพัฒนาเติบโตขึ้นมาในร่างกายคนไข้จะมีกลไกหลายช่องทางที่เซลล์มะเร็งนั้นๆ ใช้ในการเติบโต แสดงความเป็นอมตะ ไม่ยอมฝ่อสลายไปตามธรรมชาติเหมือนกับเซลล์ทั่วๆไป การสร้างคำสั่งในการสร้างเส้นเลือด กระตุ้นการอักเสบ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พลลังาน หลบหนีจากการตรวจจับทำลายของระบบภูมิต้าน เพื่อแทรกแซกลุกลาม และแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ซึ่งในแต่ละกลไกทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ในวงการแพทย์ปัจจุบันได้ทำการศึกษาจนเข้าใจทุกกลไกของการเติบโตของเซลล์ในแต่ละชนิดนำไปสู่พัฒนายาใหม่ๆ การนำยาเดิมเพื่อวัตถุประสงค์ใหม่ (Repurposing Medicine) รวมไปถึงการใช้สารพฤกษเคมีจากพืชสมุนไพร เพื่อมุ่งเป้ายับยั้งในทุกกลไกต่างๆของมะเร็งนี้อีกด้วย

ล่าสุดด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์สมารถนำชิ้นเนื้อมะเร็งและเซลล์ต้นกำเนิดของมะเร็งที่ตรวจพบในเลือดคนไข้ไปตรวจสอบลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆที่มะเร็งใช้ในการเติบโต เพื่อวางแผนในการเลือกยาให้แม่นยำและตรงกับเซลล์มะเร็งที่กำลับเติบโตอยู่ในร่างกายคนไข้อีกด้วย แนวคิดนี้เราเรียกว่า การแพทย์แม่นยำ หรือ Precision Medicine

เสาหลักที่ 3   : การรักษามะเร็งโดยอาศัยรูปแบบการใช้พลังงานเฉพาะตัวของเซลล์มะเร็ง

Metabolic Cancer Therapy

การรักษามะเร็งโดยอาศัยรูปแบบการใช้พลังงานเฉพาะตัวของเซลล์มะเร็ง จัดเป็นแนวคิดใหม่ของการบำบัดรักษามะเร็ง โดยมีรากฐานมาจากความรู้ทางชีววิทยา และชีวเคมีพื้นฐานของเซลล์มะเร็ง ซึ่งค้นพบว่า เมื่อสเต็มเซลล์ของมะเร็งแบ่งตัวเพิ่มจำนวนประชากรของเซลล์มะเร็งมากขึ้น เซลล์ลูกที่เกิดขึ้นจะมีรูปแบบการใช้พลังงานที่เปลี่ยนไปจากกระบวนการเผาผลาญที่อาศัยออกซิเจนในการสร้างพลังงาน(Oxidative phosphorylation)  มาเป็นกลไกการหมักน้ำตาล (Aerobic Glycolysis) ในการสร้างพลังงานแทน จึงทำให้มีการค้นพบว่าเนื้อเยื่อมะเร็งที่กำลังเข้าสู่ระยะของการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจะมีอัตราการใช้น้ำตาลที่สูงกว่าเซลล์ปกติ

ซึ่งจากความรู้พื้นฐานนี้จึงนำไปสู่เทคโนโลยีการตรวจหามะเร็งอาทิเช่นการตรวจ PET CT scan เพื่อดูอัตราการใช้น้ำตาลของเนื้อเยื่อมะเร็ง หรือ การตรวจเลือดวัดระดับ TKTL1 ในเม็ดเลือดขาวโมโนไซต์ ในการวิเคราะห์หาเซลล์มะเร็งในร่างกายอีกด้วยและจากรูปแบบการสร้างพลังงานเฉพาะตัวของมะเร็งนี้เองยังนำไปสู่การรักษามะเร็งทางเมทาบอลิกด้วยอาทิเช่น

– การรักษาแบบมุ่งเป้ายับยั้งการสร้างพลังงานของเซลล์มะเร็ง โดยอาศัย ยา หรือสารพฤกษเคมีที่มีการศึกษาว่า สามารถยับยั้งกลไกการสร้างพลลังานของเซลล์มะเร็งนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ยาเบาหวาน Metformin หรือ สมุนไพรสกัดจาก Berberine มีการค้นพบว่าอาจเป็นยาทางเลือกที่จะมุ่งเป้าไปยับยั้งกลไกการสลายน้ำตาลของเซลล์มะเร็งได้

– ถ้าเนื้อเยื่อมะเร็งที่กำลังแบ่งตัวเพิ่มจำนวน มีอัตราการใช้น้ำตาลที่ จึงมีการตอบสนองกับอินสุลินเพื่อดึงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ในสัดส่วนที่มากกว่าเซลล์ทั่วไป จึงมีแนวคิดที่จะหลอกล่อให้เนื้อเยื่อมะเร็งดังกล่าวเพิ่มความไวกับยามากขึ้นด้วยการใช้ อินสุลินบำบัด ก่อนการบริหารยาหรือ สารพฤกษเคมีต่างๆ เพื่อเหนี่ยวนำยามุ่งเป้าเข้าสู่เซลล์มะเร็งได้แม่นยำขึ้น และสามารถทำให้ลดระดับการใช้ยา และลดผลข้างเคียงของยากับคนำข้มะเร็งได้  ซึ่งแนวคิดแบบนี้มีการบันทึกไว้ในหมวดหมู่หนึ่งของการรักษาทางเลือกที่เรียกว่า Insulin potentiated therapy – IPT  

ปัจจุบันแนวคิดของการใช้ยาเคมีบำบัดขนาดต่ำๆหรือที่เรียกว่า Metronomic chemotherapy มีการศึกษามากขึ้น และมีรายงานถึงผลลัพทธ์ที่ดีของการรักามากขึ้นเพราะ ผลข้างเคียงจากยาที่คนไข้ได้รับน้อยลง ภูมิต้านทานของคนไข้ได้รับผลกระทบน้อย รวมไปถึงกลไกของยาขนาดต่ำเหล่านี้ ส่งผลยับยั้งการสร้างเส้นเลือดของมะเร็ง และจากที่สภาวะภูมิต้านทานคนไข้ได้รับผลกระทบน้อยลง เม็ดเลือดขาวของคนไข้จึงเกิดสภาวะจดจำเซลล์มะเร็งและสร้างภูมิต้านทานต่อต้านมะเร็งด้วยตนเองได้ดีขึ้นด้วย

รูปแบบการรักษาเหล่านี้ จึงได้รับพัฒนาขึ้นมาเป็น หนึ่งในเสาหลักของการรักษามะเร็งแบบบูรณาการเพื่อมุ่งหวังทำให้มะเร็งอ่อนแอลง จนเพิ่มโอกาสให้คนไข้สามารถเอาชนะเนื้อเยื่อมะเร็งนี้ได้มากขึ้น

เสาหลักที่ 4   : ภูมิต้านทานบำบัด (Integrative immunotherapy)

เรื่องราวของภูมิต้านทานบำบัดต่อการักษาโรคมะเร็งถือว่า เป็นอีกหนึ่งเสาหลักที่สำคัญของการรรักษามะเร็ง เพราะ ภาวะภูมิต้านทานของคนไข้ที่อ่อนแอลง ร่วมกับ ความสามารถของเซลล์มะเร็งที่หลบหนีจากระบบภูมิต้านทานของคนไข้ ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็ง

ความพยายามทางการแพทยืในการคิดค้นยา สมุนไพร หรือ วัคซีนต่างๆ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ระบบภูมิต้านทาน รวมไปถึงการยับยั้งกลไกการหลบหนีของเซลล์มะเร็ง จึงเป็นแนวทางที่มีการศึกษามากที่สุดอันถือเป็นความหวังที่สำคัญต่อการเอาชนะโรคมะเร็งนี้ ซึ่งในปัจจุบันก็มียาแผนปัจจุบันหลายรายการที่ได้รับพัฒนาขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์นี้เช่นยากลุ่ม Check point inhibitor ซึ่งคาดหวังว่าให้ยานี้ไปเปิดสวิตซ์แสดงตัวตนของมะเร็งให้กับเม็ดเลือดขาวคนไข้ได้ (ภาพที่13) แต่อย่างไรก็ดี การศึกษากลับพบว่า การใช้ยากลุ่มนี้เพียงขนานเดียว กลับได้รับผลลัพธ์ไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะกลไกที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานนั้นซับซ้อนเกินกว่าจะใช้เพียงยากลุ่มเดียว หรือขนานเดียวในการแก้ไขกลไกนี้ทั้งระบบ

การฟื้นฟูความเสื่อมความบพร่องของระบบภูมิต้านทานจึงต้องอาศัยแนวทางที่หลากหลายอาทิเช่น การใช้โภชนาการบำบัด สมุนไพรบำบัด เปปไทด์บำบัด ไทมัสสกัด หรือกลุ่มเซลล์บำบัด เพื่อฟื้นสภาพของเม็ดเลือดขาวคนไข้ให้แข็งแรงขึ้นมาไปพร้อมๆกับการฝึกฝนให้ระบบภูมิต้านทานคนไข้สามารถเรียนรู้อัตลักษณ์ต่างๆของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในร่างกายคนไข้ เพื่อสร้างภูมิต้านทานถาวรในการเอาชนะมะเร็งได้ด้วยตัวคนไข้เอง เช่น การทำวัคซีนมะเร็งเฉพาะบุคคล Personalized neoantigen cancer vaccine เป็นต้น

เสาหลักที่ 5   : การใช้เวชศาสตรืวิถีชีวิตในการบำบัดรักษา และป้องกันโรคมะเร็ง  ( Life style medicine cancer management and prevention )

5.1 Detoxification

สารพิษ สารเคมีที่อยู่รอบตัวอาจพบได้จาก การปนเปื้อนในอาหาร มลภาวะทางอากาศ การปนเปื้อนในน้ำ เครื่องอุปโภค บริโภค การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้กระทั่งยารักษาโรคมะเร็งเองก็อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้  โดยเฉพาะกับกลุ่มบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่รับสัมผัสสารพิษเหล่านี้ต่อเนื่อง หรือบางรายแม้ว่าการรับสัมผัสในปริมาณไม่มากก็อาจส่งผลเสียกับสุขภาพได้ถ้ามีความบกพร่องของกระบวนการขับพิษของร่างกาย

การรักษาโดยวิธีการขับสารพิษจึงเป็นหนึ่งหมวดสำคัญที่จัดอยู่ในแนวทางของการแพทยืวิถึชีวิต เพื่อลดปัจจัยก่ออนุมูลอิสระ ลดการบาดเจ้บ และการอักเสบระดับเซลล์ต่างๆ อันเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง

ในทุกๆเซลล์จะมีกระบวนการกำจัดขยะและของเสียออกนอกเซลล์ โดยอาศัยการทำงานของไมโทคอนเดรีย ไลโซโซม ศ่งสารพิษหรือของเสียออกมานอกเซลล์ หลักจากนั้น ของเสียเหล่านี้จะมีการเคลื่นตัวเข้าสู่ระบบไหลเวียน ทางหลอดเลือดฝอย และระบบน้ำเหลือง มีโปรตีนในระบบไหลเวียนเป็นเสมือนตัวพาดูดซับสารพิษ บางส่วนถูกขับออกทางปัสสาวะ บางส่วนจะถูกส่งไปที่ตับ และอาศัยกระบวนการเปลี่ยนแปลงสาร อันเป็นคุณลักษณะเฉพาะของเซลล์ตับ ในการขับพิษของเสียเหล่านี้ออกมาพร้อมกับน้ำดี และขับถ่ายออกมาพร้อมกับอุจจาระในสภาวะที่มีสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ดี ซึ่งในทุกขั้นตอนของกลไกเหล่านี้ถ้าบกพร่อง เสียสมดุล ทำงานได้ไม่ดี ย่อมเป็นเหตุของการตกค้าง หรือ สะสมสารพิษๆเหล่านั้นไว้ในร่างกาย จนนำไปสู่การบาดเจ็บของเซลล์ ความเสื่อม หรือเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธ์เป็นมะเร็งเกิดขึ้น

การสนับสนุนการขับสารพิษออกจากร่างกาย จึงแบ่งออกเป็น

5.1.1 การกระตุ้นเซลล์ในการขับสารพิษ อาศัย การปรับอาหารมาเน้นอาหารจากพืช ดื่มน้ำผักเขียวคั้นสดเพื่อลดความเป็นกรดของเนื้อเยื่อ

5.1.2 การกระตุ้นการไหลเวียนของระบบหลอดเลือดและน้ำเหลือง อาศัยการนวดน้ำมันอโรมา หรือ การใช้ คลื่นแม่เหล้กไฟฟ้ากระตุ้นไปตามทางเดินกายวิภาคของระบบน้ำเหลือง Electro lymphatic drainage therapy ร่วมไปกับ การสนับสนุนให้คนไข้มีการเคลื่อนไหว ออกกำลัง หายใจลึก Breating exercise เพื่อการแลกเปลี่ยนอากาศที่ดี และกระตุ้นระบบไหลเวียนของปอดและกระบังลม

5.1.3 การสนับสนุนการทำงานของตับในการขับสารพิษ จะมีการใช้สารอาหารต่างๆ อาทิเช่น กรดอะมิดน เติมวิตามิน แร่ธาตุ อันเป็นสารสำคัญที่จะสนับสนุนตับให้ขับสารพิษออกจากร่างกายได้ดีขึ้น รวมถึง การพิจาณาใช้สารพฤกษเคมี การใช้ออกซิเจน หรือ โอโซนบำบัด ในการสนับสนุนการทำงานของ สัญญาณ nrf2 เพื่อช่วยให้เซลล์สามารถผลิตสารต้านอนุมูลอิสระ และสารสำคัญต่างๆในการขับพิษออกจากร่างกายได้ดีขึ้นอีกด้วย

5.1.4 สารพิษบางประเภท เช่น สารพิษโลหะหนักจะมีลักษณพของประจุไฟฟ้าที่สร้างพันธะจับสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ จะมีการใช้กรดอะมิโนที่มีคุณสมบัติดูดซับสารโลหะหนักเหล่านี้ออกนอกร่างกาย และขับออกมาทางปัสสาวะ เรียกว่า การทำคีเลชั่นบำบัด

5.1.5 ของเสียสารพิษที่ตับขับออกมาทางน้ำดี จะถูกส่งต่อลงมาในลำไส้ ก่อนขับถ่ายออกไปพร้อมกับอุจจาระ การใช้สมุนไพร หรือ แกลือแร่บำบัดดูดซับพิษในลำไส้ และกระตุ้นการระบาย จึงเป็นการลดการดูดกลับพิษเข้าตัว และเร่งระบายของเสียออกนอกร่างกายได้ดีขึ้น นำไปสู่แนวทางการสวนล้างลำไส้ด้วยน้ำสะอาดหรือ Colonhydrotheray เพื่อกำจัดขยะของเสียเหล่านี้ออกได้ดีขึ้นอีกด้วย

การพิจารณาเลือกใช้เทคนิคการขับสารพิษเหล่านี้จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ เพราะเมื่อเวลาขับสารพิษใดๆออกจากร่างกาย อาจเกิดอาการไม่พึงปรสงค์ต่างๆได้อาทิเช่น ผื่นขึ้น ไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ที่มักเรียกกลุ่มอาการนี้ว่า ภาวะซ่านพิษ หรือ Herximer reaction ได้

เมื่อการคั่งค้างของสารพิษที่สะสมมาเหล่านี้ลดลง คนไข้จะมีภูมิต้านทานที่แข็งแรงขึ้น และสามารถฟื้นฟูร่างกายต่างๆได้ดีขึ้นตามมา

5.2 Nutrition

5.3 Exercise

5.4 Mood and emotional support

5.5 Tumor microenvironmental therapy : HBOT , Systemic hyperthermia , Rolee of gut microbiota

Share
Akesis Life - Integrative Oncology
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.