สารก่อมะเร็ง คือ สารพิษ สารเคมี รังสี เชื้อโรค หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนในสิ่งแลดล้อม เป็นตัวกระตุ้นก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ การบริโภค หรือสัมผัสสารเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน ทำให้ยีนเกิดการกลายพันธุ์เป็นสารที่เพิ่ม ‘ความเสี่ยง’ ของการเกิดมะเร็ง

ตัวอย่างสารพิษ สารก่อมะเร็งที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

    • ควันบุหรี่ มีสารก่อมะเร็งหลายชนิด เช่น เบนซีน ฟอร์มาลดีไฮด์ แคดเมียม สารหนู โครเมียม นิกเกิล
    • มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้การเผาไหม้เชื้อเพลิง ไอเสียรถยนต์การเผาในที่โล่ง กระบวนการทางอุตสาหกรรม และการก่อสร้าง ไอเสียรถยนต์ ได้แก่ ฝุ่น PM10 และ PM2.5 ซึ่งประกอบด้วย ก๊าซพิษหลายชนิด สาร polyaromatic hydrocarbon (PAH) และโลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว สารหนู แคดเมียม นิกเกิล
    • แร่ใยหิน (Asbestos) จากกระเบื้อง ฝ้าเพดาน และท่อซีเมนต์ ฉนวนกันความร้อน
    • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แฮม ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ มีสารไนโตรซามีน
    • การติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบ ไวรัส HPV(Human Papilloma Virus) ไวรัส Epstein-Barr (EBV) เชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori พยาธิใบไม้ตับ
    • สารเบนโซไพรีน อยู่ในกลุ่มของ polyaromatic hydrocarbon (PAH) ปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ปรุงด้วยความร้อนสูง ได้แก่ การปิ้ง ย่าง และเผา รวมทั้งอาหารที่ผ่านการรมควัน เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน
    • สารอะฟลาทอกซิน(Aflatoxin) โอคราทอกซิน(Ochratoxin) จากเชื้อราในตระกูล Aspergillus มักพบใน ข้าวโพด ถั่วลิสง พริกไทย พริกป่น กระเทียม หอมแดง และเมล็ดธัญพืชต่างๆ ที่เก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นและ อุณหภูมิสูง
    • สารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารหนู แคดเมียม โครเมี่ยม
    • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    • รังสีอัลตราไวโอเลต ในแสงแดดจัด
    • การใช้ฮอร์โมนทดแทนสังเคราะห์
    • ยาฆ่าแมลง มีสารเบนซีน สาร Polychlorinated biphenyls (PCBs) สารกลุ่ม organophosphate
    • สาร Phthaalate ในกลุ่ม Bisphenol A ที่ปนเปื้อนจากพลาสติกต่าง ๆ เครื่องสำอาง น้ำหอม น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาทาเล็บ

ปัจจุบันสารพิษ สารก่อมะเร็งต่าง ๆ เหล่านี้ปนเปื้อนอยู่ทั้งในอากาศ อาหาร และน้ำ การที่จะหลีกเลี่ยงที่จะไม่สัมผัสหรือรับเข้ามาสู่ร่างกายเลย จึงทำได้ค่อนข้างยาก คนส่วนใหญ่จึงมักจะมีสารเหล่านี้ตกค้างอยู่ในร่างกายไม่มากก็น้อย รวมทั้งเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายแล้วก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ล้วนแต่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค

การตรวจคัดกรองสารพิษ สารก่อมะเร็ง

  1. การตรวจคัดกรองสารพิษโลหะหนัก (Toxic metals profile)
    • เป็นการตรวจระดับ ตะกั่ว ปรอท นิกเกิล โครเมี่ยม โคบอลท์ แคดเมียม แมงกานีส อะลูมิเนียม และ สารหนู จากเลือดและปัสสาวะ
  2. การตรวจหาปริมาณเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด
    • ยากำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรนิยมใช้ส่วนใหญ่ เป็น สารเคมีกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต (Organophosphate)
      และกลุ่มคาร์บาเมต
      (Carbamate) มีฤทธิ์ยับยั้ง การทำงานของเอนไซม์ Acetyl cholinesterase ซึ่งมีความสำคัญต่อการส่งสัญญาณประสาทระหว่างเซลล์
    • ระดับเอนไซม์ที่ลดลงกว่าปกติ บ่งบอกว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษจากยากำจัดศัตรูพืชสารพวก organophosphate
  3. การตรวจคัดกรองการสัมผัสสาร Polyaromatic hydrocarbon (PAH)
    • เป็นการวัดระดับสาร 1-Hydroxypyrene ในปัสสาวะ ที่ถูกเปลี่ยนมาจากสาร PAH ช่วยบ่งบอกถึงระดับการได้รับสาร
      Polyaromatic hydrocarbon (PAH) ที่ปนเปื้อนอยู่ในควันบุหรี่ ควันธูป ฝุ่น PM10 และ PM2.5
      ไอเสียจากเครื่องยนต์ อาหารปิ้งย่างรมควัน
  4. การตรวจคัดกรองการสัมผัสสารกลุ่ม Phthates, Benzene ด้วยการตรวจวิเคราะห์กรดอินทรีย์ในปัสสาวะ (Urine Organic
    Profile)
    • เป็นการตรวจวิเคราะห์ หากรดอินทรีย์ในปัสสาวะที่เกิดขึ้นจาก กระบวนการย่อยอาหารกระบวนการสร้างพลังงานของเซลล์การสร้างสารสื่อประสาท สารที่ได้จากการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารการสัมผัสและกําจัดสารพิษต่าง ๆ

การตรวจคัดกรองการติดเชื้อและการสัมผัสสารพิษจากเชื้อ

  1. การตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี จากเลือด เนื่องจากภาวะตับอักเสบเรื้อรังจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ
    ซี นําไปสูภาวะตับแข็ง ตับวาย และมะเร็งตับได้ การตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสตับอักเสบทั้ง 2ชนิดจะช่วยให้ได้รับการรักษาและดูแลอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับได้
  2. การตรวจคัดกรองเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) เชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง
    ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บริเวณ ปากมดลูก และ อวัยวะเพศชายทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น หูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งอวัยวะเพศชาย การตรวจคัดกรองเชื้อ HPV ทำได้ 2 วิธี
    • ตรวจหาเชื้อ HPV ที่ปากมดลูก หรือ HPV DNA testing มักจะตรวจไปพร้อมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapsmear โดยสูตินรีแพทย์ ซึ่งเป็นการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก
    • ตรวจหาเชื้อ HPV หรือ HPV DNA testing จากปัสสาวะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้หญิงในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นสำหรับผู้หญิงที่ไม่พร้อมเข้ารับการตรวจภายในสามารถเก็บตัวอย่างปัสสาวะส่งตรวจด้วยตนเองได้ ถ้าผลตรวจเป็นบวก แปลว่า พบเชื้อ HPV ต้องตรวจยืนยันด้วยวิธีPapsmear โดยสูตินรีแพทย์ต่อไป ถ้าผลเป็นลบ แปลว่า ไม่พบเชื้อ ควรตรวจคัดกรองปีละ 1 ครั้ง

    การตรวจคัดกรองเชื้อไวรัส HPV จะช่วยให้สามารถตรวจหาเชื้อ HPV ความเสี่ยงสูง ช่วยให้สามารถวางแผนดูแล รักษา
    ป้องกันก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกได้

  3. การตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัส Epstein-Barr (EBV) จากเลือด เชื้อ Epstein-Barr virus (EBV) เป็นเชื้อก่อโรค
    Infectious mononucleosisที่มักเป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรงและหายได้เองในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ การติดเชื้อไวรัสEBVเรื้อรัง เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งหลังโพรงจมูก
  4. การตรวจคัดกรองการสัมผัสและการตกค้างของสารพิษจากเชื้อรา ด้วยการตรวจวิเคราะห์ Mycotoxin ในปัสสาวะ (MycoToxProfile) สารพิษจากเชื้อราหลายชนิดส่งผลเสียต่อสุขภาพ บางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง เช่น Aflatoxin, Ochratoxin,Zearalenones

การตรวจหาสารพิษ สารก่อมะเร็งที่ตกค้างในร่างกาย รวมทั้งการติดเชื้อเรื้อรังบางชนิด จะช่วยให้เราประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคเเรื้อรังและมะเร็ง ช่วยให้วางแผนดูแลเรื่องการส่งเสริมขบวนการขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และ เสริมความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้

  1. Mahdi Balai-Mood, Kobra Naseri, et al.(2021). Toxic mechanisms of five heavy metals: Mercury, Lead, Chromium, Cadmium, and Arsenic. Pharmacol., 13 April 2021. Section Predictive Toxicology. Volume 12-2021
  2. Hyun Soo Kim,* Yeo Jin Kim,* and Young Rok Seo. An Overview of Carcinogenic Heavy Metal: Molecular Toxicity Mechanism and Prevention. Journal of cancer prevention. 2015 Dec; 20(4): 232–240.
  3. สารก่อมะเร็งที่พบได้ในชีวิตประจำวัน สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  4. Marie Donzel, Maxime Bonjour, et al. Lymphomas associated with Epstein-Barr virus infection in 2020: Results from a large, unselected case series in France. www.thelancet.com Vol 54 December, 2022
  5. 7 Toxins That Weaken Immunity and How To Detox. 31 Aug, 2023. https://drjockers.com/toxins-weaken-immunity/
  6. Unmask the Growing Health Threat of Mycotoxins. https://mosaicdx.com/test/mycotox-profile/
Share
Akesis Life - Integrative Oncology
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.